การเลือกอาหารที่เหมาะกับคนไขมันในเลือดสูง

การเลือกอาหารที่ดีต่อผู้มีปัญหาภาวะไขมันในเลือดสูง

ภาวะไขมันในเลือดสูงทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจที่สมองและหัวใจอุดตัน ซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตและเสียชีวิตได้

ภาวะที่ไขมันในเลือดสูงมากเกินไป สามารถลดได้ด้วยการรับประทานอาหารที่เหมาะสมและเพิ่มการออกกำลังกาย เพื่อปรับสมดุลระบบเผาผลาญในร่างกาย

การเลือกอาหารที่ดีต่อผู้มีปัญหาภาวะไขมันในเลือดสูงมีอะไรบ้าง

1. หลีกเลี่ยงอาหารติดมัน

หนังและเนื้อสัตว์หลายชนิดจะมีไขมันอิ่มตัวสูง ที่ต้องหลีกเลี่ยง เช่น หนังของสัตว์ปีก หนังปลา เครื่องในสัตว์ ขาหมูคากิ ฯลฯ รวมถึงเมนูอาหารหลายชนิดที่มีทั้งแคลอรี่และไขมันอิ่มตัวสูง เช่น ข้าวมันไก่ ข้าวขาหมู ข้าวหมูกรอบ ฯลฯ ก็เป็นเมนูที่ต้องงดเช่นกัน

2. บริโภคอาหารนึ่งต้มตุ๋นแทนทอด

อาหารที่ทำด้วยการทอด เช่น หนังหมูทอดกรอบ ไข่ดาว ไข่เจียว หรืออาหารที่ต้องใส่น้ำมัน ปริมาณมาก เช่น ปาท่องโก๋ แป้งทอด มันฝรั่งทอด กล้วยแขก ฯลฯ เป็นเมนูอาหารที่มีการคำนวณพบว่าระดับไขมันแบบอิ่มตัวสูง โดยเฉพาะหากบริโภคเป็นประจำ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจึงแนะนำให้เลือกอาหารที่ทำด้วยกรรมวิธีอื่น เช่น การนึ่งด้วยไอน้ำ อบให้แห้ง ตุ๋น เช่น ไข่ตุ๋น จะดีต่อสุขภาพผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดสูงมากกว่า

3. รับประทานปลาทะเลน้ำลึก

ปลาทะเลน้ำลึกที่คนไทยรู้จักกันดี เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลากะพง มีโมเลกุลไขมันชนิดดี หรือที่เรียกว่า โอเมก้า 3 ในปริมาณระดับสูง ควรรับประทานอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง จะช่วยทดแทนการบริโภคโอเมก้าสามจากน้ำมันปลาหรือ Fish Oil ได้ และยังได้โปรตีนและคอลลาเจนซ่อมแซมร่างกายในราคาประหยัด โดยไม่ต้องซื้ออาหารเสริมใดใด

4. ปรับเปลี่ยนเมนูอาหารหวาน

อาหารหวานเป็นสิ่งที่ผู้เป็นโรคไขมันในเลือดสูงต้องควบคุมปริมาณการบริโภค โดยเฉพาะกลุ่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาล นม มาการีน เนยสด เนยเทียม กะทิสูง เช่น ไอศกรีมสูตรทั่วไป เบเกอรี่และคุกกี้ โยเกิร์ต ผลไม้เชื่อม ฯลฯ เพราะพลังงานและแคลอรี่ส่วนเกินจากเมนูเหล่านี้จะไปสะสมในรูปแบบไขมันในหลอดเลือดและอวัยวะต่าง ๆ ได้ จึงจำเป็นต้องเลือกสูตรที่มีไขมันต่ำ หรือใช้นมพร่องมันเนยแทนนมจืด, นมหวาน เลือกไอศครีมสูตรเชอร์เบทที่ไม่มีนมเนยเป็นส่วนผสม เช่น รสเสาวรส มะนาว แทนสูตรกะทิสด วานิลลา ช็อคโกแลต ฯลฯ

คนที่มีปัญหาค่าไขมันในเลือดสูง ต้องปรับเปลี่ยนเมนูอาหารคาวหวานที่รับประทานทุกมื้อ และต้องเสริมด้วยการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมวันละ 30 นาที เช่น การวิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน ฯลฯ จะช่วยให้ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดอุดตันในขั้นที่รุนแรงขึ้น และทำให้คุณภาพชีวิตโดยรวมดีขึ้นได้

การเลือกอาหารที่เหมาะกับคนไขมันในเลือดสูง